วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์


การปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
สภาพทางการเมืองยังคงรูปแบบของระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์รูปแบบของสถาบันกษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คลายความเป็นเทวราชาลงเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันก็กลับเน้นคติและรูปแบบของธรรมราชาขึ้นแทนที่ ซึ่งอิงหลักธรรมของพุทธศาสนา คือ ทศพิธราชธรรม
พระมหากษัตริย์คือมูลนายสูงสุดที่อยู่เหนือมูลนายทั้งปวง การปกครองและการบริหารประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น กล่าวได้ว่า รูปแบบของการปกครอง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ยังคงยึดตามแบบฉบับที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงวางระเบียบไว้ ต่อมารัชกาลที่ 4 ทรงพิจารณาว่าประเพณีบางอย่างที่เคยปฏิบัติกันมาแต่เดิม เป็นประเพณีที่ล้าสมัย จึงโปรดให้ยกเลิกประเพณีบางประเพณี

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อพระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะใน พ.ศ.2416 และทรงว่าราชการด้วยพระองค์เอง จึงทรงเริ่มปรับปรุงการปกครองซึ่งเรียกว่า "การปฏิรูปการปกครอง" แบ่งเป็น 2 ระยะ คืด ตอนต้นรัชกาล และตอนปลายรัชกาล
การปรับปรุงการปกครองตอนต้น ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน มีหน้าที่ในการออกกฎหมายและยกเลิกกฎหมาย รวมทั้งยกเลิกประเพณีโบราณต่างๆ ที่เห็นว่าไม่เหมาะสม ปรากฏว่าสภาทั้ง 2 ดำเนินงานไปได้ไม่นาน ก็ต้องหยุดชะงักเพราะเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงที่เรียกว่า " วิกฤตการณ์วังหน้า "
เป็นความขัดแย้งระหว่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ซึ่งดำรงตำแหน่งวังหน้า อันเนื่องมาจาก ความหวาดระแวงซึ่งกันและกันจนเกือบจะมีการประทะกันขึ้นในปลาย พ.ศ.2417 แต่ก็สามารถยุติลงได้ มีการเปลี่ยนแปลงก็เพียงเล็กน้อย

การปฏิรูปการปกครองตอนปลาย
ส่วนกลางมีการจัดแบ่งหน่วยงานการปกครองออกเป็น 12 กรม ซึ่งต่อมาเปลี่ยนไปใช้คำว่า "กระทรวง" แทน และได้ประกาศตั้งเสนาบดีเจ้ากระทรวงต่างๆขึ้น ยุบตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและเสนาบดีจตุสดมภ์ทุกตำแหน่ง มีสิทธิเท่าเทียมกันในที่ประชุม ต่อจากนั้นได้ยุบกระทรวงและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเสียใหม่เหลือไว้เพียง 10 กระทรวง คือ
1. กระทรวงมหาดไทย 2. กระทรวงกลาโหม
3. กระทรวงต่างประเทศ 4. กระทรวงวัง
5. กระทรวงเมือง (นครบาล) 6. กระทรวงเกษตราภิบาล
7. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ 8. กระทรวงยุติธรรม
9. กระทรวงธรรมการ 10. กระทรวงโยธาธิการ

การเมืองหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 - 20 มิถุนายน 2476
หลังจากคณะราษฎร์เข้ายึดอำนาจ มีการใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับแรก คือ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม(ชั่วคราว) ต่อเมื่อมีรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ปี๒๔๗๕
มีการออกพระราชบัญญัติการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ หลวงประดิษฐ์มนูธรรมต้องเดินทางออกนอกประเทศ ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับคณะราษฎรจึงมีมากขึ้น พ.อ. พระยาพหลพลยุทหเสนา จึงก่อการรัฐประหารขึ้นยึดอำนาจ และขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีอำนาจของคณะราษฎรจึงคืนมาอีกครั้ง
ต่อมาเกิดเหตุการณ์สำคัญหลายอย่างจนทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญูอีกหลายฉบับและปัจจุบันใช้รัฐธรรมนูญูฉบับที่18 ปี 2550

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น