วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เครื่องมือวัดความดัน
ความดัน คือ ขนาดของแรงดันที่กระทำตั้งฉากต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ เป็นปริมาณสเกล่าร์ มีหน่วยเป็น N/m2 หรือ Pa

ความดันในของเหลว

P = Pเกจ ซึ่งเป็นความดันเนื่องจากน้ำหนักของเหลว และเป็นค่าที่อ่านได้จากเครื่องวัด มีหน่วยเป็น N/m2 หรือ Pa
ρ = ความหนาแน่นของของเหลว มีหน่วยเป็น kg/m3
h = ความลึกของของเหลว มีหน่วยเป็น m
หมายเหตุ
* ณ จุดใดๆในของเหลว จะมีแรงเนื่องจากของเหลวไปในทุกทิศทาง
* แรงที่ของเหลวกระทำที่ผิวภาชนะจะตั้งฉากกับผิวภาชนะเสมอ
* ความดันในของเหลวชนิดหนึ่งๆไม่ขึ้นกับปริมาตรและรูปร่างของภาชนะ
* ความดัน ณ จุดใดๆในของเหลว จะแปรผันตรงกับความลึก และ ความหนาแน่นของของเหลว เมื่อของเหลวอยู่นิ่งและอุณหภูมิคงที่
* ถ้าพิจารณาความดันบรรยากาศด้วย จะเรียกว่า ความดันสัมบูรณ์

ความดันในอากาศ หมายถึง แรงดันของอากาศ ซึ่งก็เป็นเรื่องของสมบัติของอากาศที่ต้องการที่อยู่ อากาศจะเคลื่อนที่โดยโมเลกุลของอากาศจะเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากอยู่ในสถานะของแก๊ส อากาศจะเคลื่อนที่ไปทุกทิศทุกทางทำให้เกิดแรงที่เรียกว่า แรงดันอากาศ แรงดันอากาศจะขึ้นอยู่กับอิทธิพลของขนาดพื้นที่ อุณหภูมิ และอื่นๆ
การวัดความดันของอากาศนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องความดันของอากาศที่ควรรู้จักมี 2 ท่านด้วยกัน คือ กาลิเลโอ (Galileo) และเทอริเชลลี (Torricelli) โดยศึกษาพบว่า อากาศสามารถดันของเหลว เช่น น้ำหรือปรอทให้เข้าไปอยู่ในหลอดแก้วที่เป็นสุญญากาศได้ จึงนำความรู้ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้สร้างเครื่องวัดความดันบรรยากาศที่มีชื่อเรียกว่า บารอมิเตอร์ (barometer) บารอมิเตอร์จะใช้ปรอทบรรจุไว้ภายในหลอดแก้วเนื่องจากมีคุณสมบัติที่ดีกว่าของเหลวอื่นๆ
ความดันของของไหลสามารถวัดค่าได้ด้วยเครื่องวัดความดันของของไหลที่มีหลายรูปแบบ เช่น แมนอมิเตอร์ แบรอมิเตอร์และเครื่องวัดบูร์ดอน
แมนอมิเตอร์ (manormeter) เป็นเครื่องมือวัดความดันของของไหลชนิดหนึ่ง ประอบด้วย หลอดแก้วรูปตัวยู มีของเหลวบรรจุไว้ภายใน ปลายข้างหนึ่งอาจเปิดสู่บรรยากาศ ถ้าต้องการวัดความดันเทียบกับความดันบรรยากาศ แต่อาจใช้เทียบกับความดันอื่นก็ได้ และการรู้ความต่าง ระดับของเหลวในหลอดทั้งสองข้างจะทำให้สามารถหาความดันที่แตกต่างกันได้ เมื่อทราบความหนาแน่นของของเหลว


แมนอมิเตอร์ ใช้วัดความดันของของเหลว จากรูป ค่าความดันที่อ่านได้ คือ ความดันเกจ
ถ้าบวกความดันบรรยากาศ ค่าความดันที่อ่านได้เรียกว่า "ความดันสัมบูรณ์" P คือ ความดันสัมบูรณ์
Patm คือ ความดันบรรยากาศ
ρgh คือ ความดันเกจ (ค่าที่อ่านได้จากเครื่องมือวัดความดัน)
แบรอมิเตอร์ปรอท (mercuty barometer) เป็นเครื่องมือที่ใช้ปรอทวัดความดันบรรยากาศได้โดยตรงซึ่งประดิษฐ์โดย ทอร์ริเซลลี(Torricelli) ชาวอิตาเลียน ในปี พ.ศ.2186 แบรอมิเตอร์ปรอท ประกอบด้วยหลอดแก้วทรงกระบอก ปลายข้างหนึ่งเปิด เมื่อบรรจุปรอทจนเต็มแล้วคว่ำลงในอ่างปรอทโดยไม่ให้อากาศเข้าในหลอด เมื่อยกหลอดตั้งขึ้น จะเกิดสูญญากาศด้านปลายเปิด ดังนั้นบริเวณตอนบนของหลอด จึงไม่มีความดันอากาศ และลำปรอทยังคงระดับความสูงได้นั้นเพราะความดันบรรยากาศภายนอกที่กระทำผิวปรอทในอ่างปรอทซึ่งมีความดันอากาศ Patm นี้สมดุลกับความดันเนื่องจากน้ำหนักของลำปรอทที่ h ดังนั้นความดันบรรยากาศ Patm จึงมีค่าเท่ากับ ρgh เมื่อ ρ เป็นความหนาแน่นของปรอท


ความดันอากาศที่อ่านจากแบรอมิเตอร์แบบปรอท มีหน่วยว่า มิลลิเมตรของปรอท (mmHg) ในแต่ละวันและเวลาเมื่อความดันบรรยากาศเปลี่ยนแปลง ความสูงของระดับปรอทอาจเปลี่ยนแปลงด้วย ดังนั้นในแต่ละท้องที่ในแต่ละเวลาความดันบรรยากาศจะไม่เท่ากันอาจวัดความดันในหน่วยอื่นก็ได้ เช่น บาร์ (bar) หรือทอร์ (torr) โดยทั้งสามหน่วยมีความสัมพันธ์กับหน่วยเอสไอ ดังนี้1. ความดัน 1 บรรยากาศ คือ ความดันของอากาศที่ทำให้ปรอทเคลื่อนสูงขึ้นไปได้ 76 เซนติเมตร หรือ 760 มิลลิเมตร2.1บรรยากาศมีค่าเท่ากับ1,013.25มิลลิบาร์3. 1,000 มิลลิบาร์ มีค่าเท่ากับ 1 บาร์
แอนีรอยด์ แบรอมิเตอร์ (aneroid barometer) เป็นเครื่องมือวัดความดันอากาศหรือแก๊สอีกแบบหนึ่ง เป็นตลับโลหะแล้วนำเอาอากาศออกจนเหลือน้อย (คล้ายจะทำให้เป็นสุญญากาศ) เมื่อมีแรงจากอากาศมากดตลับโลหะ จะทำให้ตลับโลหะมีการเคลื่อนไหว ทำให้เข็มที่ติดไว้กับตัวตลับชี้บอกความกดดันของอากาศโดยทำสเกลบอกระดับความดันของอากาศไว้ แอนนิรอยด์บารอมิเตอร์ประดิษฐ์โดยวีดี (Vidi) ในปี พ.ศ. 2388 มีขนาดเล็กพกพาไปได้สะดวก
เนื่องจากความดันอากาศ ณ สถานที่ใดขึ้นอยู่กับความสูงของสถานที่นั้นเหนือระดับน้ำทะเล จึงมีการดัดแปลงแอนีรอยด์แบรอมิเตอร์ให้เป็นเครื่องมือวัดความสูง หรือที่เรียกว่า อัลติมิเตอร์ (altimeter) ซึ่งสามารถวัดระดับเพดานบินของเครื่องบินได้


บารอกราฟ (barograph) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดความดันอากาศที่ใช้หลักการเดียวกับแอนนิรอยด์บารอมิเตอร์ แต่จะบันทึกความกดดันอากาศแบบต่อเนืองลงบนกระดาษตลอดเวลาในลักษณะเป็นเส้นกราฟ และบอกเวลาได้ด้วย เหมาะสำหรับใช้ในการพยากรณ์อากาศ

แอลติมิเตอร์ (altimeter)ใช้หลักการเดียวกันกับแอนิรอยด์บารอมิเตอร์ ที่นำมาประยุกต์ให้ใช้ความกดดันของอากาศทำให้วัดระดับความสูงด้ด้วย แอลติมิเตอร์เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบิน เครื่องมือที่นักกระโดดร่มใช้เพื่อการกระโดดร่ม
แอลติมิเตอร์ยังสามารถวัดความชื้นของอากาศได้ด้วย ความชื้นของอากาศ (humidity) หมายถึง ปริมาณของไอน้ำที่มีอยู่ในชั้นบรรยากาศ ในกรณีที่มีความชื้นในอากาศสูงหมายถึงว่าอากาศมีปริมาณไอน้ำมาก และถ้าอากาศมีความชื้นต่ำหมายถึงว่าอากาศมีปริมาณไอน้ำน้อย


เครื่องวัดบูร์ดอน ( bourdon gauge ) เป็นอุปกรณ์ที่วัดความดันที่มีความดันสูง เช่น ใช้ในถังเก็บลมสำหรับเติมยางรถยนต์ ถังแก๊สหุงต้มหรือแก๊สในยางรถยนต์ เป็นต้น
อุปกรณ์มีลักษณะเป็นท่อกลวงรูปก้นหอย ปลายด้านหนึ่งต่อกับของไหลที่ต้องการวัดความดัน ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งปิด เมื่อของไหลเข้าไปในท่อ ความดันของไหลจะทำให้ท่อยืดออก จึงมีผลทำให้เข็มที่ติดอยู่ตรงปลายท่อเบนไปจากตำแหน่งเดิม ซึ่งปริมาณการเบนจะบอกความดันในของไหลนั้น







ความดันกับชีวิตประจำวัน
เครื่องวัดความดันโลหิต ทำด้วยหลอดแก้วรูปตัวยู (แมนอมิเตอร์) ภายในบรรจุปรอท ปลายข้างหนึ่งมีท่อยางสวมต่อกับถุงอากาศ และมีลูกยางสำหรับอัดอากาศเข้าถุงอากาศ ขณะที่ความดันอากาศในถุงสูงกว่าความดันโลหิต จะไม่ได้ยินเสียงชีพจร เมื่อความดันอากาศในถุงเท่ากับความดันโลหิต จะได้ยินเสียงชีพจร ความดันที่อ่านได้ในครั้งแรกจะเป็นค่าความดันสูง จากนั้นผู้วัดจะค่อยๆปล่อยอากาศออกจากถุง จนความดันในถุงเท่ากับความดันในเส้นเลือดดำ ผู้วัดจึงอ่านค่าความดันโลหิตต่ำ จากความสูงของลำปรอทในแมนอมิเตอร์ ร่างกายคนปกติจะมีความดันโลหิตสูงสุดเท่ากับ 120 มิลลิเมตรของปรอท และความดันโลหิตต่ำสุดเท่ากับ 80 มิลลิเมตรของปรอท ( ความดันที่ได้เป็นความดันเกจ )

หลอดดูดเครื่องดื่ม เมื่อใช้หลอดดูดเครื่องดื่มจะทำให้อากาศในหลอดมีปริมาตรลดลงทำให้ความดันอากาศในหลอดลดลง ความดันอากาศภายนอกซึ่งมีมากกว่า จะดันของเหลวขึ้นไปแทนที่อากาศในหลอดดูด จนของเหลวไหลเข้าปาก

แผ่นยางติดผนัง เมื่อกดแผ่นยางติดผนังบนวัตถุผิวเรียบ อากาศระหว่างแผ่นยางกับวัตถุจะถูกขับออก ทำให้บริเวณดังกล่าวเกือบเป็นสุญญากาศ อากาศภายนอกที่มีความดันมากกว่าจะกดแผ่นยางให้แนบติดกับผิววัตถุ

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554

Rx CAMP 8 ม.อ

ค่ายสู่รั้วหมอยาครั้งที่แปด จัดขึ้นที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยคณะเภสัชสาสตร์

วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

หลักการทางฟิสิกส์











หลักการทางฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้อง
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับรถไฟเหาะ
•หลักการทำงานของรถไฟเหาะ
•ความเร็ว
•มวล
•พลังงานศักย์โน้มถ่วง – พลังงานจลย์
•แรงโน้มถ่วงของโลก – โมเมนตัม
•แรงสู่ศูนย์กลาง
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับรถไฟเหาะ
3ถ้าท่านได้ศึกษาฟิสิกส์ ท่านจะต้องรู้จักเครื่องเล่นมหัศจรรย์ชิ้นหนึ่ง ชื่อของมันคือ รถไฟเหาะตีลังกา เพราะการเคลื่อนที่ของมันเป็นไปตามหลักการทางฟิสิกส์ล้วนๆ อาทิเช่น มวล ความเร่งโน้มถ่วง และแรงเข้าสู่ศูนย์กลางเป็นต้น ในสวนสนุกขนาดใหญ่เกือบทุกแห่ง ล้วนแต่มีรถไฟเหาะตีลังกาอยู่ทั้งสิ้น ทางวิ่งของรถไฟเหาะดูใหญ่โตมโหฬาร วนไปมาน่าเวียนหัว
4เครื่องเล่นในสวนสนุกสำหรับคนที่ชอบความตื่นเต้นท้าทายต้องไม่พลาด และถือเป็น Hi-light ของสวนสนุกทุกแห่งในโลก คือ รถไฟเหาะ หรือ Roller Coaster ถูกสร้างขี้นมาโดยชาวฝรั่งเศส และพัฒนาต่อมาโดยสหรัฐอเมริกา มีจุดเริ่มต้นมาจากเลื่อนน้ำแข็ง กีฬายอดฮิตของชาวรัสเซีย แต่ในช่วงนั้นประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 เรียกกีฬานี้ว่า ภูเขาของรัสเซีย โดยผู้เล่นจะเลื่อนตัวลงมาตามทางลาดที่ทำด้วยน้ำแข็งสูงประมาณ 21 เมตร ซึ่งถือว่าสูงเอาการทีเดียว
ในปี ค.ศ.1817 ฝรั่งเศสดัดแปลงเป็นตัวรถเลื่อนบนน้ำแข็ง ส่วนที่อเมริกา รถไฟเหาะเริ่มต้นเมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ขณะนั้นออกแบบเป็นรถไฟขนถ่านหินระยะทางยาว 29 กิโลเมตร เลื่อนลงมาจากภูเขา ตอนนั้นใช้สัตว์ เช่น ลาและม้า ช่วยลาก แต่เมื่อมีการประดิษฐ์รถจักรไอน้ำ จึงเปลี่ยนมาใช้เครื่องจักรแทนสัตว์ผู้น่าสงสาร
5เมื่อยุคการใช้ถ่านหินหมดความนิยมลง รถไฟเหล่านี้จึงถูกดัดแปลงมาเป็นรถนำเที่ยวชมวิวบนภูเขา มีการเพิ่มกิจกรรมรื่นเริงต่างๆ ทำให้ทุกปีมีนักท่องเที่ยวขึ้นรถไฟหลายพันคน ต่อมาอีก 30 ปี อเมริกาจึงดัดแปลงรถไฟเหล่านี้เป็นรถไฟเหาะเล่นกันอยู่ในสวนสนุกจนเป็นที่นิยมกันมาก
พอสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้น เศรษฐกิจตกต่ำการผลิตรถไฟเหาะจึงลดลง แต่กลับมาบูมอีกครั้งในปี 1990 เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว ธุรกิจสวนสนุกกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง รถไฟเหาะเปลี่ยนเป็นโครงสร้างแบบเหล็ก ทำให้ผู้เล่นรู้สึกมั่นคงและปลอดภัย แถมวิศวกรยังใส่ลูกเล่นเพื่อเพิ่มความสนุกตื่นเต้นท้าทายมากขึ้น อันเป็นเสน่ห์ของรถไฟเหาะที่ได้รับความนิยม
6โครงสร้างของรถไฟแยกออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. ทำด้วยไม้
2. ทำด้วยเหล็ก
โครงสร้างที่ทำด้วยไม้ถูกสร้างขึ้นมาก่อน โดยใช้แผ่นเหล็กขนาด 10 ถึง 15 cm ทำเป็นรางขนาน ยึดเข้ากับไม้ ล้อวิ่งซ้อนอยู่บนรางที่ทำเป็นปีกไว้ ทำให้ล้อไม่หลุดออกมาขณะที่วิ่งอยู่บนรางด้วยความเร็วสูง
โครงสร้างไม้ทำหน้าที่รองรับน้ำหนัก เปรียบเทียบได้กับโครงสร้างของบ้าน หรือ ตึก ที่ช่วยรองรับน้ำหนักของบ้านและตึกทั้งหลังได้ แต่เนื่องจากไม้ดัดและขึ้นเป็นรูปต่างๆได้ยาก โครงสร้างทีทำด้วยไม้จึงดัดแปลงให้มีรูปทรงที่สลับซับซ้อนได้ยาก และเสียงที่เกิดบนโครงสร้างไม้เมื่อได้ยินแล้วน่ากลัว
7การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างจากไม้เป็นเหล็กเกิดขึ้นในปี 1960 นับเป็นการปฏิวัติรถไฟเหาะอย่างแท้จริง เหล็กถูกทำให้เป็นท่อขนาดใหญ่ ส่วนรางยึดติดกับท่อนี้ ทำให้มีความมั่นคงแข็งแรง น้ำหนักโดยรวมเบากว่าไม้ การขึ้นรูปทำได้ง่ายกว่า
ผู้ออกแบบและผู้เล่นจึงมีความมั่นใจในโครงสร้างเหล็กมากกว่า
เสียงที่เกิดจากโครงสร้างเหล็กน้อยกกว่าเสียงที่เกิดจากโครงสร้างไม้ เพราะเหล็กเลื่อนและยุบตัวได้น้อยกว่าไม้ อย่างไรก็ตามนักเล่นรุ่นเก๋าบางท่านชอบเสียงที่เกิดจากโครงสร้างไม้มากกว่า เพราะว่ามันให้อารมณ์ความรู้สึกมากกว่า
หลักการทำงานของรถไฟเหาะ
8หลักการทำงานของรถไฟเหาะ ก็คล้ายกับการเคลื่อนที่รถรางเด็กเล่น ที่เราเคยเล่นเมื่อตอนเป็นเด็ก เป็นการวิ่งอยู่บนทางราบ แต่สำหรับรถไฟเหาะ เป็นรถรางที่ขยายขนาดขึ้น และวิ่งด้วยความเร็วที่สูง แถมยังตีลังกาหกคะเมนได้ด้วย รถไฟเหาะไม่มีเครื่องยนต์หรือแหล่งขับเคลื่อนภายในตัวเอง มันเคลื่อนที่ได้ด้วยแรงเฉื่อยกับแรงโน้มถ่วง ให้พลังงานจากภายนอกเพียงครั้งแรกเท่านั้น ตอนที่เลื่อนรถไฟขึ้นเนินแรก ซึ่งเป็นเนินเริ่มต้น และเป็นเนินที่สูงที่สุด
9การเคลื่อนที่ของรถไฟเหาะมาจากพลังงานศักย์โน้มถ่วง ยิ่งรถไฟอยู่สูงจากพื้นมากเท่าไร พลังงานศักย์โน้มถ่วงยิ่งมีค่ามากขึ้นเท่านั้น เหมือนกับการที่ท่านขี่จักรยานขึ้นเนินเขา พอถึงจุดสูงสุด และปล่อยให้ไหลลงมาจากเนิน ความเร็วของรถจักรยานจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งสูงมากเท่าไร ความเร็วของรถทางด้านล่างจะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
เมื่อรถไฟเหาะเลื่อนลงจากเนินแรก ซึ่งเป็นเนินที่สูงสุด ความเร็วจะเพิ่มขึ้น พอถึงข้างล่าง ความเร็วทำให้รถไฟพุ่งต่อไป ยังเนินที่สอง ขณะที่ไต่เนินขึ้นความเร็วจะลดลง
เหตุผลที่เนินที่สองมีขนาดเตี้ยกว่าเนินแรก ก็เพราะว่า รถไฟต้องสูญเสียพลังงานไปกับแรงเสียดทาน และแรงต้านอากาศ เนินถัดไปจึงต้องมีขนาดเตี้ยลงไปตามลำดับ
ความเร็ว
10การเลื่อนรถไฟเหาะขึ้นไปบนเนินตอนแรก ต้องใช้รอกขนาดยักษ์ 2 อัน อันแรก อยู่ข้างล่างเนิน อันที่สองอยู่บนจุดสูงสุดของเนิน คล้องด้วยโซ่ มอเตอร์ขับเคลื่อนรอกและโซ่ให้เคลื่อนที่ขึ้น ข้างใต้ของรถไฟจะมีตะขอเกี่ยวเข้ากับโซ่ และถูกดึงขึ้นไปพร้อมกับโซ่อย่างช้าๆ เมื่อถึงจุดสูงสุด ตะขอจะหลุดออกจากโซ่และรถจะเลื่อนไหลลงออกจากเนินแรก
รถไฟเหาะยุคไฮเทค ใช้แรงส่งจากมอเตอร์แนวตรง ( Linear induction motors) ซึ่งจะช่วยส่งแรงให้กับรถเหาะเป็นช่วงๆตลอดแนว นักออกแบบบางคน ใช้ล้อขับด้วยมอเตอร์ช่วยส่งแรงเป็นช่วงๆก็ได้
ส่วนระบบเบรกทำเป็นก้ามปูหนีบเพื่อสร้างแรงเสียดทานขึ้นตามแนวทางวิ่ง
ซึ่งจะช่วยชลอความเร็วของรถให้ช้าและหยุดลง
1110อันดับรถไฟเหาะที่ยอดเยี่ยมที่สุดของโลกเรื่องความเรื่องความเร็ว
อันดับที่ 1 Kingda Ka @ Six Flags Great Adventure, New Jersey USA
รถไฟ เหาะขบวนนี้เปิดตัวในปี 2005 เป็นรถไฟเหาะที่สูงที่สุดและเร็วที่สุดในโลก
เบียดแซงอันดับที่ 4 ไปด้วยความสูง 456 ฟุต ด้วยความเร็ว 128 ไมล์ต่อชั่วโมง
(ราวๆ 206 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในเวลาเพียง 3.5 วินาทีเท่านั้น







อันดับที่ 2 Steel Dragon 2000 @ Nagashima Spa Land Amusement Park, Mie Prefecture Japan
รถไฟ เหาะนี้คล้ายกับ Millenium Force มาก แต่ยาวกว่า สูงกว่า และเร็วกว่านิดเดียวเท่านั้น ด้วยระยะทาง 8,133 ฟุต ทำให้มันเป็นรถไฟเหาะที่ยาวที่สุดในโลก ด้วยความสูง 318.25 ฟุต และความเร็ว 95 ไมล์ต่อชั่วโมง แต่ราคาแพงกว่าตั้ง 2 เท่า









12อันดับที่ 3 Millenium Force @ Cedar Point, Sandusky Ohio USA
เป็นรถไฟเหาะที่จะปล่อยเราทีความสูงถึง 310 ฟุตปล่อยคุณลงด้วยความชัน 80 องศาความเร็วสูงสูง
กว่า 92 ไมล์ต่อชั่วโมง เป็นรถไฟเหาะที่มีความยาวมากถึง 6,595 ฟุต









อันดับที่ 4 Top Thrill Dragster @ Cedar Point, Sandusky Ohio USA
สวน สนุกที่ได้ชื่อว่าเป็นอันดับ 1 ของโลก ได้รางวัล Best Amusement Park 11 ปีซ้อน ที่นี่มีรถไฟ
เหาะถึง 17 ขบวนหนึ่งในนั้นคือ Top Thrill Dragster เจ้านี่จะยิงคุณด้วยความเร็ว 120 ไมล์ต่อ
ชั่วโมง ขึ้นไปที่ความสูง 420 ฟุต แล้วควงกลับลงมา เหตุการณ์ทั้งหมดใช้เวลาเพียง 10 วินาทีเท่านั้น




13อันดับที่ 5 Dodonpa @ Fuji-Q Highland, Mt.Fujiyama Japan
บริเวณใกล้ๆกับภูเขาไฟฟูจิ มีสวนสนุกชื่อดัง และเครื่องเล่นหนึ่งในนั้นคือDodonpa เป็นรถไฟเหาะที่
มีความเร่งสูงที่สุดของโลก ด้วยความเร็ว 107 ไมล์ต่อชั่วโมงภายใน 2 วินาที ยังไม่พอ ยังส่งขึ้นไป
ด้วยความชัน 90 องศา และลงมาด้วยความชันอีก 90 องศา








อันดับที่ 6 Thunder Dolphin @ Laqua, Tokyo Dome City Japan
นั่นคือ Thunder Dolphin เป็นรถไฟเหาะที่ปล่อยด้วยความสูง 218 ฟุต เลี้ยววงแคบ 80 องศา
ความเร็วสูงสุด 80 ไมล์ต่อชั่วโมง มีความยาวทั้งสิ้น 3,500 ฟุต
14อันดับที่ 7 Goliath @ Six Flags MagicMountain, Los Angeles USA
รถไฟเหาะ Goliath ที่จะปล่อยคุณที่ความสูง 255 ฟุต ด้วยมุมชัน 61 องศา ทำให้ตัวแทบจะลอยหลุด
จากเก้าอี้กันเลยทีเดียว ความเร็วสูงสุด 85 ไมล์ต่อชั่วโมง มีความยาวทั้งสิ้น 4500 ฟุต
อันดับที่ 8 Dragon Khan @ Port Aventura Theme Park, Spain
Dragon Khan จะพาคุณไปปล่อยที่ความสูง 161 ฟุต และหมุนอีก 8 รอบ ด้วยความเร็ว 65 ไมล์ต่อ
ชั่วโมง รถไฟเหาะลำนี้ได้รับคำชมว่า ค่อนข้างสมูท และเคยได้บันทึกสถิติเกี่ยวกับการหมุนควง
15อันดับที่ 9 Titan @ Six Flags Over Texas, Arlington USA
รถไฟเหาะลำนี้จะปล่อยจากความสูง 255 ฟุต เลี้ยวและหมุนไปมาจนเกิดแรงจีมากถึง 4.5G และยัง
ทำให้เกิด negativeG ที่ทำให้ตัวหวิวอีกด้วย ความเร็วสูงสุด 85 ไมล์ต่อชั่วโมง ระยะทางยาวกว่า
5,280 ฟุต
อันดับที่ 10 Nemesis @ Alton Tower, Staffordshire UK
รถไฟ เหาะแบบห้อยขาที่มีความเร็วถึง 50 ไมล์ต่อชั่วโมง พาคุณหมุน 4 รอบ ภายในเวลา 1 นาทีครึ่ง ให้คุณได้สัมผัสประสบการณ์แรงถึง 4G มีความยาวทั้งสิ้น 2,349 ฟุต
มวล
16ขณะอยู่บนรถไฟเหาะเรามีความรู้สึกสนุกสนาน แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้ท่านทุกข์ได้ด้วย จนถึงกับวิงเวียนอาเจียนได้ เป็นเพราะแรงที่กระทำบนตัวของผู้เล่นปกตินั้น ถ้าเรานั่งนิ่งๆ และไม่มีการเคลื่อนที่ จะมีแต่น้ำหนักเท่านั้นที่กระทำกับตัวเรา เราชินกับน้ำหนักของตัวเองมาตั้งแต่เกิด ดังนั้นจึงไม่มีความรู้สึกอะไร หรือถ้าเราเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ จะไม่มีแรงกระทำกับตัวเรา ตามกฎข้อที่หนึ่งของนิวตัน ที่กล่าวไว้ว่า
วัตถุที่หยุดนิ่งหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ จะไม่มีแรงกระทำกับวัตถุนั้น แต่ถ้าวัตถุมีการเปลี่ยนความเร็ว หมายถึงว่ามีความเร่งจะเกิดแรงกระทำขึ้นกับวัตถุนั้นทันที
17และในขณะที่นั่งรถไฟเหาะซึ่งมีความเร่งเกิดขึ้น เราอาจจะมีน้ำหนักตัว
มากขึ้นถึง 300 กิโลกรัม ทั้ง ๆ ที่เราแสนจะผอม รถไฟเหาะมันจะมีราง
ขึ้น -ลง น้ำหนักตัวจะขึ้นถึง300 กิโลกรัมเวลาที่คุรนั่งอยู่ที่จุดต่ำสุดของราง
รถไฟเหาะ เพราะที่จุดต่ำสุดของรถไฟเหาะน้ำหนักทั้งหมดของเราจะทิ้งลง
มาทำให้เหมือนว่าเราจะร่วงลงมาแต่มีรถไฟเหาะรองรับน้ำหนักอยู่ทำให้
น้ำหนักทั้งหมดของเราทิ้งมาที่รถไฟตอนอยู่ที่จุดล่างสุด











พลังงานศักย์โน้มถ่วง - พลังงานจลย์
18พลังงานการเคลื่อนที่ของรถไฟเหาะได้มาจากการพลังงานศักย์โน้มถ่วง ที่เนินที่สูงที่สุดซึ่งเป็นเนินแรก พลังงานศํกย์โน้มถ่วงจะมีค่ามากสุด แต่เมื่อรถไฟเหาะเลื่อนลงจากเนินแรก พลังงานศํกย์จะเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์หรือพลังงานการเคลื่อนที่ โดยมีความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พลังงานจลน์จะมีค่าสูงสุด เมื่อพลังงานศักย์เหลือน้อยที่สุด พลังงานจลน์หรือความเร็วจะทำให้ รถไฟพุ่งต่อไป ยังเนินที่สอง ขณะที่ไต่เนินขึ้นความเร็วจะลดลงและเลื่อนลงจากเนินที่สองลงมาที่ที่เป็นตำแหน่งเริ่มต้นก่อนจะเข้าสู่วงลูบ
เหมือนกับการที่ท่านขี่จักรยานขึ้นเนินเขา พอถึงจุดสูงสุด และปล่อยให้ไหลลงมาจากเนิน ความเร็วของรถจักรยานจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งสูงมากเท่าไร ความเร็วของรถทางด้านล่างจะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก - โมเมนตัม
19รถไฟเหาะไม่ได้มีมอเตอร์อยู่บนตัวรถไฟ การเคลื่อนที่ของมันจึงต้องอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก (mg) และโมเมนตัม (P) ที่เกิดจากมวลของรถไฟ เพื่อจะสร้างโมเมนตัมให้มีค่ามากๆ รถไฟเหาะจะต้องถูกยกขึ้นไปบนเนินแรกก่อน
เมื่อรถไฟเหาะเร่งความเร็วขึ้น ท่านจะรู้สึกว่ามีแรงจากพนักพิงดันข้างหลังของท่าน แต่ถ้ารถไฟเหาะลดความเร็วลง หรือเบรกอย่างกระทันหัน ตัวท่านจะพุ่งไปข้างหน้า แต่เนื่องจากท่านยึดกับที่นั่งไว้ ทำให้ท่านไม่หลุดออกจากที่
20ความรู้สึกในความเร่งนี้เป็นความสนุกสนาน โดยทั่วไปเราเปรียบเทียบความเร่งกับค่าความเร่งโน้มถ่วงของโลก (ค่า g) ขนาดของความเร่ง 1g มีค่าเท่ากับ ความเร่งโน้มถ่วงวัดบนผิวโลก (9.8 เมตรต่อวินาทีกำลังสอง)
ในขณะที่รถไฟเหาะกำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง ผลของความเร่งจะเกิดเป็นแรงที่กระทำบนร่างกายของท่าน เนื่องจากร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยโครงกระดูกหลายชิ้น เชื่อมต่อกันขึ้นมา และมีของเหลวเ21ป็นส่วนประกอบหลักของร่างกาย เมื่อเกิดความเร่งกระทำ ส่วนต่างๆ ย่อมเกิดความเร่งหรือแรงกระทำในทิศทางหรือขนาดที่ไม่เท่ากัน
21เช่น เมื่อรถเร่งขึ้น พนักพิงมีแรงกระทำด้านหลัง กล้ามเนื้อส่วนที่อยู่ด้านหลังก็จะส่งแรงไปด้นอวัยวะภายใน หรือตอนที่รถไฟเหาะพุ่งลงอย่างรวดเร็ว ท่านจะรู้สึกถึงสภาวะไร้น้ำหนัก กระเพาะของท่านจะรู้สึกว่าเบาขึ้น ซึ่งในสภาวะปกติต้องรับน้ำหนักของอาหารโปรดและน้ำหนักของกระเพาะเอง เมื่อมันเบาขึ้นอย่างทันที อาหารที่อยู่ในกระเพาะอาจจะเลื่อนตัวออกมาทางปากของท่านจนหมด ที่เรียกภาษาชาวบ้านว่า อวก ก็เป็นได้









แรงสู่ศูนย์กลาง
22ขณะที่รถไฟเหาะตีลังกาวิ่งเข้าไปในวงลูบ ท่านจะอยู่ในสภาพกลับหัว น้ำหนักของตัวท่านจะดึงท่านลงจากที่นั่ง แต่ที่ไม่ร่วงลงมา เพราะมีอีกแรงหนึ่งที่กระทำอยู่ในแนวรัศมี ดันตัวของท่านขึ้นไปข้างบน ติดกับที่นั่ง แรงนี้เกิดจากความเร่ง และมีทิศทางตรงกันข้ามกับความเร่งโน้มถ่วงของโลก ถ้าความเร่งนี้เท่ากับหรือมากกว่าความเร่งโน้มถ่วงของโลก น้ำหนักของท่านจะหายไป อยู่ในสภาวะไร้น้ำหนักชั่ววูบ เมื่อออกจากวงลูบน้ำหนักก็จะปรากฏขึ้นมาอีกครั้ง แรงชนิดนี้มีทิศทางในแนวรัศมี เรียกว่าแรงสู่ศูนย์กลาง เป็นแรงเดียวที่กระทำกับท่านเมื่อท่านนั่งอยู่บนรถไฟเหาะ เมื่อรถไฟเหาะหมุนตีลังกาในวงลูบ
23ให้ท่านทดลองจินตนาการดูว่า เมื่อท่านอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนัก และกำลังกลับหัวตีลังกาอยู่ จะมีความรู้สึกเหมือนกับนกหรือไม่อย่างไร ในวงลูบขนาดของแรงที่กระทำขึ้นอยู่กับตัวแปร 2 ตัว คือ ความเร็วของรถไฟ และมุมของการหมุน
ปัจจุบันวิศวกรได้ออกแบบให้วงลูบเป็นรูปหยดน้ำตา เมื่อผู้เล่นพุ่งขึ้นไปบนสุด ด้วยโครงสร้างลักษณะนี้มันจะเพิ่มความเร็วของรถขึ้น และมีแรงดันตัวท่านให้ติดกับที่นั่งได้มากขึ้น พอออกจากจุดยอดของหยดน้ำตา รถไฟเหาะจะมีความเร่งลดลง ทำให้ผู้เล่นไม่อึดอัด เปลี่ยนเป็นความสนุกสนาน และอยากกลับมาเล่นรถไฟเหาะนี้อีกครั้งหนึ่ง







คณะผู้จัดทำ24
1.นางสาว กิ่งแก้ว โกมล ชั้น ม.4/2 เลขที่29
2.นางสาว ธนาภรณ์ ตั้งสกุล ชั้น ม.4/2 เลขที่31





วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

4หัวใจแห่งขุนเขา

4หัวใจแห่งขุนเขา
ธาราหิมาลัย ทิพย์ธารา,ภูวเนศ
ธาราหลั่งรินชโลมใจ
ดวงใจอัคนี อัจจิมา,อัคนี
แรงร้อนซ่อนไฟรักดั่งอัคนี
ปฐพีเล่ห์รัก ชะเอม,ปฐพี
หนักแน่นอบอุ่นปานพื้นปฐพี
วายุภัคมาตรา ทิชากร,วายุภัค
สายลมรักทุกราตรีในมนตรา
นางเอกน่ารัก พระเอกหล่อ เท่ ตลก ขี้เล่น ชอบชอบ
ปลื้มพี่ไฟมาก
...ผู้หญิงของไฟดวงใจอัคนี...

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
ระบบการบริหารราชการแผ่นดิน
ประเทศทุกประเทศจะต้องจัดการเรื่องระเบียบกาปกครอง การบริหารงานระหว่างรัฐกับประชาชน เพื่อให้เกิดความสงบสุขและความสะดวกให้แก่ประชาชน รัฐจึงออกกฎหมายการปกครองออกมาใช้บังคับประชาชน
ความหมายของกฎหมายการปกครองในที่นี้ หมายถึง กฎหมายที่วางระเบียบการบริหารภายในประเทศ โดยวิธีการแบ่งอำนาจการบริหารงานตั้งแต่สูงสุดลงมาจนถึงระดับต่ำสุด เป็นการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของราชการผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหาร
โดยหลักทั่วไปทางวิชาการกฎหมายการปกครอง ได้จัดระเบียบการปกครองประเทศหรือที่เรียกว่า จัดระเบียบราชการบริหาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization)
2.การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization)
- การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization) หมายถึง การจัดระเบียบการปกครอง โดยรวมอำนาจการปกครองทั้งหมดไว้ที่ส่วนกลาง พนักงานเจ้าหน้าที่ในส่วนกลางและต่างจังหวัดไดรับการแต่งตั้งถอดถอนและบังคับบัญชาจากส่วนกลางเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่ส่วนกลางกำหนดขึ้น เช่น การปกครองที่แบ่งส่วนราชการออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด เป็นต้น
- การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization) หมายถึง การจัดระเบียบการ ปกครองโดยวิธีการยกฐานะท้องถิ่นหนึ่งขึ้นเป็นนิติบุคคลแล้วให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการปกครองตนเองอย่างอิสระโดยการบริหารส่วนกลางจะไม่เข้ามาบังคับบัญชาใด ๆ นอกจากคอยดูแลให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ภายในขอบเขตของกฎหมายจัดตั้งท้องถิ่นเท่านั้น เช่น การปกครองของเทศบาลในจังหวัดต่าง ๆ เทศบาลกรุงเทพมหานคร หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น
กฎหมายการปกครองที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย ได้ใช้รูปแบบการปกครอง ทั้งประเภทที่กล่าวมาแล้ว คือ ใช้ทั้งแบบรวมอำนาจและกระจายอำนาจ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับการปฎิบัติงานของราชการ ให้มีสมรรถภาพ การกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆให้ชัดเจน เพื่อมิให้มีการปฎบัติงานที่ซ้ำซ้อนระหว่างส่วนราชการต่างๆและเพื่อให้การบริหารในระดับต่างๆมีเอกภาพสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐบาลกำหนดได้ดี
ดังนั้น รัฐบาลจึงออกกฎหมายการปกครองขึ้นมา คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และฉบับที่ 5 พ.ศ.2545และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พอสรุปดังนี้
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน คือ กติกาที่ยอมรับเป็นบรรทัดฐาน เพื่อให้การบริหารราชการมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีที่มาจากแหล่งต่าง ๆ อันได้แก่ ขนบธรรมเนียมการปกครอง รัฐธรรมนูญและความจำเป็นในการบริหารงานเพื่อแก้ไขสถานการณ์การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1.ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
2.ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
3.ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
การบริหารราชการส่วนกลาง
การบริหารราชการส่วนกลางหมายถึง หน่วยราชการจัดดำเนินการและบริหารโดยราชการของ ส่วนกลางที่มีอำนาจในการบริหารเพื่อสนองความต้องการของประชาชน จะมีลักษณะการปกครองแบบรวมอำนาจ หรือมีความหมายว่า เป็นการรวมอำนาจในการสั่งการ การกำหนดนโยบายการวางแผน การควบคุมตรวจสอบ และการบริหารราชการสำคัญ ๆ ไว้ที่นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีและกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ตามหลักการรวมอำนาจ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง จัดแบ่งออกได้ดังนี้
- สำนักนายกรัฐมนตรีกระทรวง หรือทบวงที่มีฐานะเทียบเท่า กระทรวงทบวง สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงกรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวงการจัดตั้ง ยุบ ยกเลิก หน่วยงาน ตามข้อ 1- 4 ดังกล่าวนี้ จะออกกฎหมายเป็น พระราชบัญญัติและมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้จัดแบ่ง กระทรวง และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง รวม 20 หน่วยงาน
ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเทคนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธรณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม
- สำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นกระทรวง อยู่ภายใต้การปกครองบังคับบัญชาของนากยรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นเครี่องของนากยรัฐมนตรีในเรื่องที่เป็นหัวใจของการบิหารราชการหรือเกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี กิจการเกี่ยวกับการทำงบประมาณแผ่นดินและราชการอื่น ตามที่ได้มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักนายกรัฐมนตรี หรือส่วนราชการซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือส่วนราชการอื่น ๆ ซึ่งมิได้อยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งโดยเฉพาะ
- สำนักนายกรัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของสำนักนายกรัฐมนตรีให้สอดคล้องกันนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี และจะให้มีรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีหรือทั้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติก็ได้
กระทรวง หมายถึง ส่วนราชการที่แบ่งออกเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ที่สุด รับผิดชอบงานที่กำหนดในพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งทำหน้าที่จัดทำนโยบายและแผน กำกับ เร่งรัด และติดตามนโยบาย และแผนการปฏิบัติราชการกระทรวง จะจัดระเบียบบริหารราชการโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีสำนักนโยบายและแผนเป็นส่วนราชการภายในขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
กระทรวงหนึ่งๆมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนัมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกระทรวง และจะให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้ ให้มีปลัดกระทรวงมีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมราชการประจะในกระทรวง เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการประจำในกระทรวงจากรับมนตรี โดยมีรองปลัดกระทรวงหรือผู้ช่วยปลัดกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งการและปฏิบัติราชการแทน การจัดระเบียบราชการของกระทรวง ดังนี้
1) สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น เว้นแต่บางทบวงเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกรมก็ได้
ทบวง เป็นหน่วยงานที่เล็กกว่ากระทรวง แต่ใหญ่กว่า กรม ตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 25 ว่า ราชการส่วนใดซึ่งโดยสภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นกระทรสงหรือทบวง ซึ่งเทียบเท่ากระทรวงจะจัดตั้งเป็นทบวงสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงเพื่อให้มีรัฐมนตรีว่าการทบวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและมีรัฐมนตรีช่วยว่าการทบวงและมีปลัดทบวง ซึ่งรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของทบวงก็ได้และมีอำนาจหน้าที่กำหนดไว้ในกฏหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม การจัดระเบียบราชการในทบวง มีดังนี้
(1) สำนักเลขานุการรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดทบวง
(3) กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นให้ส่วนราชการตาม (2) (3) มีฐานะเป็น กรม
กรม หมายถึง เป็นส่วนราชการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงหรืออาจเป็นส่วนราชการอิสระไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงอยู่ใต้การบังคับบัญชา ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการทรวงคนใดคนหนึ่งให้แบ่งส่วนราชการดังนี้
(1) สำนักงานเลขานุการกรม
(2) กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง เว้นแต่บางกรมเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกองก็ได้กรมใดมีความจำเป็น จะแบ่งส่วนราชการโดยให้มีส่วนราชการอื่นนอกจาก (1) หรือ (2) ก็ได้ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา กรมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการส่วนใดส่วนหนึ่งของกระทรวง หรือทบวงหรือทบวงตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของกรมหรือตามกฏหมายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกรมนั้น
กรมมีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ให้เป็นไปตามนโยบายแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง และในกรณีที่มีกฏหมายอื่นกำหนดอำนาจหน้าที่ของอธิบดีไว้เป็นการเฉพาะ การอำนาจและการปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายดังกล่าวให้คำนึงถึงนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง
ปัจจุบันมีส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงหรือทบวง มี 9 ส่วนราชการมีฐานะเป็นกรม คือ สำนักพระราชวัง สำนักราชเลขาธิการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ราชบัณฑิตยสถานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและสำนักงานอัยการสูงสุดอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
การปฏิบัติราชการแทน อำนาจในการสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติการปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการใดที่ผู้ดำดงตำแหน่งใดพึงปฏิบัติตามกฎหมาย ถ้ากฎหมายมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้ ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่น ปฏิบัติราชการแทนได้ดังตัวอย่าง
1. นายกรัฐมนตรีมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาจมอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้รับมอบจะมอบต่อไปไม่ได้เว้นแต่ผู้ว่าราชการจัวหวัดจะมอบต่อในจังหวัด อำเภอก็ได้การรักษาราชการแทน ผู้ที่ได้รับอำนาจจะมีอำนาจเต็มตามกฎหมายทุกประการ
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค
การบริหารราชการส่วนภูมิภาคหมายถึง หน่วยราชการของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ซึ่งได้แบ่งแยกออกไปดำเนินการจัดทำตามเขตการปกครอง โดยมีเจ้าหน้าที่ของทางราชการส่วนกลาง ซึ่งได้รับแต่งตั้งออกไปประจำตามเขตการปกครองต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาคเพื่อบริหารราชการภายใต้การบังคับบัญชาของราชการส่วนกลางโดยมีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิดเพราะถือเป็นเพียงการแบ่งอำนาจการปกครองออกมาจากการบริหารส่วนกลาง
การบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นการบริหารราชการตามหลักการแบ่งอำนาจโดยส่วนกลางแบ่งอำนาจในการบริหารราชการให้แก่ภูมิภาค อันได้แก่จังหวัด มีอำนาจในการดำเนินกิจการในท้องที่แทนการบริหารราชการส่วนกลาง
ลักษณะการแบ่งอำนาจให้แก่การบริหารราชการส่วนภูมิภาค หมายถึง การมอบอำนาจในการตัดสินใจ วินิจฉัย สั่งการให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ไปประจำปฏิบัติงานในภูมิภาค เจ้าหน้าที่ในว่าในภูมิภาคให้อำนาจบังคับบัญชาของส่วนกลางโดยเฉพาะในเรื่องการแต่งตั้งถอดถอนและงบประมาณซึ่งเป็นผลให้ส่วนภูมิภาคอยู่ใการควบคุมตรวจสอบจากส่วนกลางและส่วนกลางอาจเรียกอำนาจกลับคืนเมื่อใดก็ได้
ดังนั้นในทางวิชาการเห็นว่าการปกครองราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจึงเป็นการปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค จัดแบ่งออกได้ดังนี้
1. จังหวัด เป็นหน่วยราชการที่ปกครองส่วนภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด มีฐานะเป็นนิติบุคคลประกอบขึ้นด้วยอำเภอหลายอำเภอหลาย อำเภอ การตั้ง ยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นกฎหมายพระราชบัญญัติ
ในจังหวัดหนึ่ง ๆ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง และกรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชนและเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในบรรดาข้าราชการฝ่านบริหารส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ อาจจะมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือ ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งสังกัดกระทรวงมหาดไทย
ผู้ว่าราชการจังหวัด มีคณะปรึกษาในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้นเรียกว่า คณะกรมการจังหวัดประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด รองผู้บังคับการตำรวจซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดหรือผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด แล้วแต่กรณีและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงและทบวงต่าง ๆ เว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจำอยู่ในจังหวัด กระทรวง และทบวงละหนึ่งคนเป็นกรมการจังหวัด และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ
ให้แบ่งส่วนราชการของจังหวัด ดังนี้
(1) สำนักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปและการวางแผนพัฒนาจังหวัดของจังหวัดนั้นมีหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานจังหวัด
(2) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรมนั้นๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้นๆเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
อำเภอ เป็นหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาครองจากจังหวัด แต่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลเหมือนจังหวัด การจัดตั้ง ยุบเลิกและเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอ กระทำได้โดยตราเป็น พระราชกฤษฎีกา มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอำเภอ และรับผิดชอบการบริหารราชการของอำเภอ นายอำเภอสังกัดกระทรวงมหาดไทย และให้มีปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอซึ่งกระทรวงต่าง ๆส่งมาประจำให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ การแบ่งส่วนราชการของอำเภอ มีดังนี้
(1) สำนักงานอำเภอ มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของอำเภอนั้น ๆ มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบ
(2) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรมได้ตั้งขึ้นในอำเภอนั้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวงกรมนั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นหมายถึง กิจกรรมบางอย่างซึ่งรัฐบาลได้มอบหมายให้ท้องถิ่นจัดทำกันเอง เพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ โดยเฉพาะโดยมีเจ้าหน้าที่ซึ่งราษฎรในท้องถิ่นเลือกตั้งขึ้นมาเป็นผู้ดำเนินงานโดยตรงและมีอิสระในการบริหารงาน
อาจกล่าวได้ว่าการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการบริหารราชการตามหลักการกระจายอำนาจ กล่าวคือ เป็นการมอบอำนาจให้ประชาชนปกครองกันเอง เพื่อให้ประชาชนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และรู้จักการร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นการแบ่งเบาภาระของส่วนกลาง และอาจยังประโยชน์สุขให้แก่ประชาชนในท้องที่ได้มากกว่า เพราะประชาชนในท้องถิ่นย่อมรู้ปัญหาและความต้องการได้ดีกว่าผู้อื่น
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีดังนี้
- องค์การบริหารส่วนจังหวัด
- เทศบาลสุขาภิบาล
- ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด ได้แก่ สภาตำบลองค์การบริหารตำบลกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา- องค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดที่อยู่นอกเขตเทศบาลและสุขาภิบาล มีฐานะเป็นนิติบุคคล ดำเนินกิจการส่วนจังหวัดแยกเป็นส่วนต่างหากจากการบริหารราชการส่วนภูมิภาคในรูปของจังหวัด ในจังหวัดหนึ่งจะมีองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่งองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วยสภาจังหวัดผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้ดำเนินกิจการส่วนจังหวัด
เทศบาลเป็นองค์การทางการเมืองที่ดำเนินกิจการอันเป็นผลประโยชน์ของประชาชนในเขตท้องถิ่นนั้น ๆ การจัดตั้งเทศบาลทำได้โดยการออกพระราชกฤษฎีกายกท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นเทศบาลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แบ่งเทศบาลออกเป็น
1. เทศบาลตำบล เทศบาลประเภทนี้ไม่ได้กำหนดกฎเกณฑ์การจัดตั้งไว้โดยเฉพาะ แต่อยู่ในดุลยพินิจของรัฐ
2. เทศบาลเมืองได้แก่ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดหรือท้องถิ่นชุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ หนึ่งหมื่น คนขึ้นไป โดยมีความหนาแน่นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร
3. เทศบาลนครได้แก่ท้องถิ่นที่มีประชาชนตั้งแต่ ห้าหมื่นคน ขึ้นไป และมีความหนาแน่นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันมีเทศบาลนครเพียงแห่งเดียว คือ เทศบาลนครเชียงใหม่
องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) คือ หน่วยการปกครองท้องถิ่นที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการส่วนท้องถิ่นโดยประชาชนมีอำนาจตัดสินใจในการบริหารงานของตำบลตามที่กฏหมายกำหนดไว้อบต. ประกอบด้วย
1. สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมี กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านและแพทย์ประจำตำบล ราษฎรหมู่บ้านละ 2 คน
2. คณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 2 คนเลือกจากสมาชิกองค์การฯอีก 4 คน ประธานกรรมการบริหารและเลขานุการกรรมการบริหารอบต. มีหน้าที่ต้องทำในเขตอบต. ดังนี้
(1) ให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
(2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะรวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(3) ป้องภัยโรคและระงับโรคติดต่อ
(4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
(6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ
(7) คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(8) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปพิเศษนอกเหนือจากหลักการโดยทั่วไปของการจัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในรูปที่กล่าวมาแล้ว รัฐบาลได้จัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเพื่อให้เหมาะสมกับความสำคัญทางสังคมและเศรษฐกิจของชุมชนเฉพาะแห่ง ปัจจุบันมีการจัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปพิเศษ 2 แห่ง คือ
1.การบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
2.การบริหารราชการเมืองพัทยา
การบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 กำหนดให้กรุงเทพมหานครประกอบด้วย
- ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
- สภากรุงเทพมหานครผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารกรุงเทพมหานคร
- มีผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร 1 คน และรองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ไม่เกิน 4 คน ทั้งผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการ กทม. เป็นข้าราชการการเมือง และได้รับเลือกตั้งจากประชาชนในกรุงเทพมหานคร
สภา กทม. ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ควบคุมการบริหารราชการของผู้ว่าราชการ กทม. สภา กทม. ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน โดยถือเกณฑ์จำนวนประชาชน 1 แสนคนต่อสมาชิก 1 คน
ปลัดกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายกำหนด และตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรับผิดชอบดูแลราชการประจำของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของกรุงเทพมหานคร
การบริหารราชการเมืองพัทยา
จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 เมืองพัทยามีฐานะเป็นนิติบุคคล ประกอบด้วย
สภาเมืองพัทยาประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท คือ สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน จำนวน 9 คน และสมาชิกจากการแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จำนวน 8 คนสภาเมืองพัทยา จะเลือกสมาชิกคนใดคนหนึ่งเป็นนายกเมืองพัทยา สภาเมืองพัทยาทำหน้าที่ด้านนโยบายและแผนการดำเนินงาน และควบคุมการปฏิบัติงานประจำของเมืองพัทยา
ปลัดเมืองพัทยามีหน้าที่บริหารกิจการเมืองพัทยาตามนโยบายของสภาเมืองพัทยา ปลัดเมืองพัทยามาจากการแต่งตั้งโดยสภาเมืองพัทยาตามที่นายกเมืองพัทยาเสนอผู้ซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกสภาเมืองพัทยาอย่างน้อย 2 คน แต่ไม่เกิน 3 คน

คณะรัฐมนตรีรัฐบาลไทย

คณะรัฐมนตรีรัฐบาลไทย
คณะที่ 59 (17 ธันวาค, พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน) หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม คณะรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ 1 (ครม. อภิสิทธิ์ 1) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ โดยมีนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยมี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
รายชื่อคณะรัฐมนตรี รัฐบาลอภิสิทธิ์ 1 นายกรัฐมนตรี : นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

รองนายกรัฐมนตรี : นายสุเทพ เทือกสุบรรณ, นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ, พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์รัฐมนตรีประจำสำนักนายก

รัฐมนตรี : นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย, นายวีระชัย วีระเมธีกุล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง : กรณ์ จาติกวณิชรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง : นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์, นายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์

รัฐมนตรี่ว่าการกระทรวงพาณิชย์ : นางพรทิวา นาคาสัย จากพรรคภูมิใจไทย

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ : นายอลงกรณ์ พลบุตร

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม : พล. อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ

รัฐมนตรีการท่องเที่ยวและกีฬา : นายชุมพล ศิลปอาชา

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ : นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ : นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์, นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย : นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย : นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์, นายถาวร เสนเนียม

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน : นายไพฑูรย์ แก้วทอง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : คุณหญิงกัลยา โสภณพานิช

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน : นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร : นายธีระ วงศ์สมุทร

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร : นายชาติชาย พุคยาภรณ์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม : นายธีระ สลักเพชร

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ : ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ : นายวิฑูรย์ นามบุตร

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม : นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม : นายโสภณ ซารัมย์

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม : นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ, นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ : นายกษิต ภิรมย์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : นายสุวิทย์ คุณกิตติ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม : นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข : นายวิทยา แก้วภราดัย

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข : นายมานิต นพอมรบดี

เลขาธิการนายกรัฐมนตรี : นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ

ประวัติรัฐสภาไทย


ประวัติรัฐสภาไทย

รัฐสภาของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแรก เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา

ต่อมา เมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาใช้เป็นที่ทำงาน จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อนในครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป และยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วยสถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา

เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51,027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง คือหลังที่ 1 เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง ส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ประธาน และรองประธานของสภาทั้งสอง หลังที่ 2 เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภา หลังที่ 3 เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภา สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา ใช้ในการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517 สำหรับพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะบุคคลสำคัญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุม รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และมีโครงการใช้ชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รัฐสภา

ประธานรัฐสภาไทยดูบทความหลักที่ รายนามประธานรัฐสภาไทยจนถึงปัจจุบัน รัฐสภาไทย มีผู้ดำรงตำแหน่ง ประธานรัฐสภา รวม 28 คน ดังนี้

1. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร 28 มิถุนายน - 1 กันยายน 2475 15 ธันวาคม 2475 - 26 กุมภาพันธ์ 2476

2. เจ้าพระยาพิชัยญาติ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร 2 กันยายน 2475 - 10 ธันวาคม 2476

3. พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (พลเรือตรี กระแส ประวาหะนาวิน) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร 26 กุมภาพันธ์ 2476 - 22 กันยายน 2477 6 กรกฎาคม 2486 -24 มิถุนายน 2487 ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา 31 สิงหาคม 2489 - 9 พฤษภาคม 2490 15 พฤษภาคม 2490 - 8 พฤศจิกายน 2490

4. เจ้าพระยาศรีธรรมมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร 22 กันยายน 2477 - 15 ธันวาคม 2477 17 ธันวาคม 2477 - 31 กรกฎาคม 2478 7 สิงหาคม 2478 - 31 กรกฎาคม 2479 ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา 26 พฤศจิกายน 2490 - 18 กุมภาพันธ์ 2491 20 กุมภาพันธ์ 2491 - 14 มิถุนายน 2492 15 มิถุยายน 2492 - 20 พศจิกายน 2493 22 พฤศจิกายน 2493 - 29 พฤศจิกายน 2494

5. พระยามานวราชเสวี (วิเชียร ณ สงขลา) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร 3 สิงหาคม 2479 - 10 ธันวาคม 2480 10 ธันวาคม 2480 -24 มิถุนายน 2481 28 มิถุยายน 2481 - 10 ธันวามคม 2481 12 ธันวาคม 2481 - 24 มิถุนายน 2482 28 มิถุนายน 2482 - 24 มิถุนายน 2483 1 กรกฎาคม 2483 - 24 มิถุนายน 2484 1 กรกฎาคม 2484 - 24 มิถุนายน 2485 30 มิถุนายน 2485 - 24 มิถุนายน 2586 2 กรกฎาคม 2487 - 24 มิถุนายน 2488 29 มิถุนายน 2488 - 15 ตุลาคม 2488 26 มกราคม 2489 - 9 พฤษภาคม 2489

6. พันตรีวิลาศ โอสถานนท์ ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา 4 มิถุนายน 2489 - 24 สิงหาคม 2489

7. พลเอก พระประจนปัจนึก (พุก มหาดิลก) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร 1 ธันวาคม 2494 - 17 มีนาคม 2495 22 มีนาคม 2495 - 23 มิถุนายน 2495 28 มิถุนายน 2495 -23 มิถุนายน 2496 2 กรกฎาคม 2496 - 23 มิถุนายน 2497 29 มิถุนายน 2497 - 23 มิถุนายน 2498 2 กรกกาคม 2498 - 23 มิถุนายน 2499 30 มิถุนายน 2499 - 25 กุมภาพันธ์ 2500 16 มีนาคม 2500 - 23 มิถุนายน 2500 28 มิถุนายน 2500 - 16 กันยายน 2500 27 ธันวาคม 2500 - 23 มิถุนายน 2501 25 มิถุนายน 2501 - 20 ตุลาคม 2501

8. พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ์ สุทธิสารรณกร) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร 20 กันยายน 2500 - 14 ธันวาคม 2500 ประธานรัฐสภา ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ 6 กุมภาพันธ์ 2502 - 17 เมษายน 2511

9. นายทวี บุณยเกตุ ประธานรัฐสภา และประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ 8 พฤษภาคม2511 -20 มิถุนายน 2511

10. พันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา 22 กรกฎาคม 2511 - 6 กรกฎาคม 2514 7 กรกฎาคม 2514 - 17 พฤศจิกายน 2514

11. พลตรีศิริ สิริโยธิน ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 18 ธันวามคม 2515 - 11 ธันวาคม 2516

12. พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 29 ธันวาคม 2516 -7 ตุลาคม 2517

13. นายประภาศน์ อวยชัย ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 17 ตุลาคม 2517 - 25 มกราคม 2518

14. นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร 7 กุมภาพันธ์ 2518 -12 มกราคม 2519

15. นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร 19 เมษายน 2519 - 6 ตุลาคม 2519 6 กุมภาพันธ์ 2544 - 5 มกราคม 2548

16. พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินและประธานรัฐสภา 22 ตุลาคม 2519 - 20 พฤศจิกายน 2519

17. พลอากาศเอก หะริน หุงสกุล ประธานรัฐสภา และประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน 28 พฤศจิกายน 2519 - 20 ตุลาคม 2520 ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 25 พฤศจิกายน 2520 - 22 เมษายน 2522 ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา 9 พฤษภาคม 2522 - 19 มีนาคม 2526

18. นายจารุบุตร เรืองสุวรรณ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา 26 เมษายน 2526 - 19 มีนาคม 2527

19. ศาสตราจารย์อุกฤษ มงคลนาวิน ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา 30 เมษายน 2527 - 30 เมษายน 2528 1 พฤษภาคม 2528 - 23 เมษายน 2530 24 เมษายน 2530 - 22 เมษายน 2532 3 เมษายน 2335 - 26 พฤษภาคม 2535 ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 2 เมษายน 2534 - 21 มีนาคม 2535

20. ร้อยตำรวจตรี วรรณ ชันซื่อ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา 4 พฤษภาคม 2532 - 23 กุมภาพันธ์ 2534

21. นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา 28 มิถุนายน 2535 - 29 มิถุนายน 2535

22. ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร 22 กันยายน 2535 - 19 พฤษภาคม 2538

23. นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร 11 กรกฎาคม 2538 27 กันยายน 2538

24. นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร 24 พฤศจิกายน 2539 - 27 มิถุนายน 2543

25. นายพิชัย รัตตกุล ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร 30 มิถุนายน 2543 - 9 พฤศจิกายน 2543

26. นายโภคิน พลกุล ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร 8 มีนาคม 2548 - 24 กุมภาพันธ์ 2549

27. นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร 23 มกราคม 2551 - เมษายน 2551

28. นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร 15 พฤษภาคม 2551 - (ปัจจุบัน) [ อาคารรัฐสภาแห่งใหม่วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ อนุมัติงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2552 เป็นเงิน 12,000 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ บนพื้นที่ 119 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านเกียกกาย โดยจะต้องย้ายหน่วยราชการที่อยู่ในบริเวณนั้น ประกอบด้วย โรงเรียนโยธินบูรณะ โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ช่าง