วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

หลักการทางฟิสิกส์











หลักการทางฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้อง
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับรถไฟเหาะ
•หลักการทำงานของรถไฟเหาะ
•ความเร็ว
•มวล
•พลังงานศักย์โน้มถ่วง – พลังงานจลย์
•แรงโน้มถ่วงของโลก – โมเมนตัม
•แรงสู่ศูนย์กลาง
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับรถไฟเหาะ
3ถ้าท่านได้ศึกษาฟิสิกส์ ท่านจะต้องรู้จักเครื่องเล่นมหัศจรรย์ชิ้นหนึ่ง ชื่อของมันคือ รถไฟเหาะตีลังกา เพราะการเคลื่อนที่ของมันเป็นไปตามหลักการทางฟิสิกส์ล้วนๆ อาทิเช่น มวล ความเร่งโน้มถ่วง และแรงเข้าสู่ศูนย์กลางเป็นต้น ในสวนสนุกขนาดใหญ่เกือบทุกแห่ง ล้วนแต่มีรถไฟเหาะตีลังกาอยู่ทั้งสิ้น ทางวิ่งของรถไฟเหาะดูใหญ่โตมโหฬาร วนไปมาน่าเวียนหัว
4เครื่องเล่นในสวนสนุกสำหรับคนที่ชอบความตื่นเต้นท้าทายต้องไม่พลาด และถือเป็น Hi-light ของสวนสนุกทุกแห่งในโลก คือ รถไฟเหาะ หรือ Roller Coaster ถูกสร้างขี้นมาโดยชาวฝรั่งเศส และพัฒนาต่อมาโดยสหรัฐอเมริกา มีจุดเริ่มต้นมาจากเลื่อนน้ำแข็ง กีฬายอดฮิตของชาวรัสเซีย แต่ในช่วงนั้นประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 เรียกกีฬานี้ว่า ภูเขาของรัสเซีย โดยผู้เล่นจะเลื่อนตัวลงมาตามทางลาดที่ทำด้วยน้ำแข็งสูงประมาณ 21 เมตร ซึ่งถือว่าสูงเอาการทีเดียว
ในปี ค.ศ.1817 ฝรั่งเศสดัดแปลงเป็นตัวรถเลื่อนบนน้ำแข็ง ส่วนที่อเมริกา รถไฟเหาะเริ่มต้นเมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ขณะนั้นออกแบบเป็นรถไฟขนถ่านหินระยะทางยาว 29 กิโลเมตร เลื่อนลงมาจากภูเขา ตอนนั้นใช้สัตว์ เช่น ลาและม้า ช่วยลาก แต่เมื่อมีการประดิษฐ์รถจักรไอน้ำ จึงเปลี่ยนมาใช้เครื่องจักรแทนสัตว์ผู้น่าสงสาร
5เมื่อยุคการใช้ถ่านหินหมดความนิยมลง รถไฟเหล่านี้จึงถูกดัดแปลงมาเป็นรถนำเที่ยวชมวิวบนภูเขา มีการเพิ่มกิจกรรมรื่นเริงต่างๆ ทำให้ทุกปีมีนักท่องเที่ยวขึ้นรถไฟหลายพันคน ต่อมาอีก 30 ปี อเมริกาจึงดัดแปลงรถไฟเหล่านี้เป็นรถไฟเหาะเล่นกันอยู่ในสวนสนุกจนเป็นที่นิยมกันมาก
พอสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้น เศรษฐกิจตกต่ำการผลิตรถไฟเหาะจึงลดลง แต่กลับมาบูมอีกครั้งในปี 1990 เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว ธุรกิจสวนสนุกกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง รถไฟเหาะเปลี่ยนเป็นโครงสร้างแบบเหล็ก ทำให้ผู้เล่นรู้สึกมั่นคงและปลอดภัย แถมวิศวกรยังใส่ลูกเล่นเพื่อเพิ่มความสนุกตื่นเต้นท้าทายมากขึ้น อันเป็นเสน่ห์ของรถไฟเหาะที่ได้รับความนิยม
6โครงสร้างของรถไฟแยกออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. ทำด้วยไม้
2. ทำด้วยเหล็ก
โครงสร้างที่ทำด้วยไม้ถูกสร้างขึ้นมาก่อน โดยใช้แผ่นเหล็กขนาด 10 ถึง 15 cm ทำเป็นรางขนาน ยึดเข้ากับไม้ ล้อวิ่งซ้อนอยู่บนรางที่ทำเป็นปีกไว้ ทำให้ล้อไม่หลุดออกมาขณะที่วิ่งอยู่บนรางด้วยความเร็วสูง
โครงสร้างไม้ทำหน้าที่รองรับน้ำหนัก เปรียบเทียบได้กับโครงสร้างของบ้าน หรือ ตึก ที่ช่วยรองรับน้ำหนักของบ้านและตึกทั้งหลังได้ แต่เนื่องจากไม้ดัดและขึ้นเป็นรูปต่างๆได้ยาก โครงสร้างทีทำด้วยไม้จึงดัดแปลงให้มีรูปทรงที่สลับซับซ้อนได้ยาก และเสียงที่เกิดบนโครงสร้างไม้เมื่อได้ยินแล้วน่ากลัว
7การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างจากไม้เป็นเหล็กเกิดขึ้นในปี 1960 นับเป็นการปฏิวัติรถไฟเหาะอย่างแท้จริง เหล็กถูกทำให้เป็นท่อขนาดใหญ่ ส่วนรางยึดติดกับท่อนี้ ทำให้มีความมั่นคงแข็งแรง น้ำหนักโดยรวมเบากว่าไม้ การขึ้นรูปทำได้ง่ายกว่า
ผู้ออกแบบและผู้เล่นจึงมีความมั่นใจในโครงสร้างเหล็กมากกว่า
เสียงที่เกิดจากโครงสร้างเหล็กน้อยกกว่าเสียงที่เกิดจากโครงสร้างไม้ เพราะเหล็กเลื่อนและยุบตัวได้น้อยกว่าไม้ อย่างไรก็ตามนักเล่นรุ่นเก๋าบางท่านชอบเสียงที่เกิดจากโครงสร้างไม้มากกว่า เพราะว่ามันให้อารมณ์ความรู้สึกมากกว่า
หลักการทำงานของรถไฟเหาะ
8หลักการทำงานของรถไฟเหาะ ก็คล้ายกับการเคลื่อนที่รถรางเด็กเล่น ที่เราเคยเล่นเมื่อตอนเป็นเด็ก เป็นการวิ่งอยู่บนทางราบ แต่สำหรับรถไฟเหาะ เป็นรถรางที่ขยายขนาดขึ้น และวิ่งด้วยความเร็วที่สูง แถมยังตีลังกาหกคะเมนได้ด้วย รถไฟเหาะไม่มีเครื่องยนต์หรือแหล่งขับเคลื่อนภายในตัวเอง มันเคลื่อนที่ได้ด้วยแรงเฉื่อยกับแรงโน้มถ่วง ให้พลังงานจากภายนอกเพียงครั้งแรกเท่านั้น ตอนที่เลื่อนรถไฟขึ้นเนินแรก ซึ่งเป็นเนินเริ่มต้น และเป็นเนินที่สูงที่สุด
9การเคลื่อนที่ของรถไฟเหาะมาจากพลังงานศักย์โน้มถ่วง ยิ่งรถไฟอยู่สูงจากพื้นมากเท่าไร พลังงานศักย์โน้มถ่วงยิ่งมีค่ามากขึ้นเท่านั้น เหมือนกับการที่ท่านขี่จักรยานขึ้นเนินเขา พอถึงจุดสูงสุด และปล่อยให้ไหลลงมาจากเนิน ความเร็วของรถจักรยานจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งสูงมากเท่าไร ความเร็วของรถทางด้านล่างจะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
เมื่อรถไฟเหาะเลื่อนลงจากเนินแรก ซึ่งเป็นเนินที่สูงสุด ความเร็วจะเพิ่มขึ้น พอถึงข้างล่าง ความเร็วทำให้รถไฟพุ่งต่อไป ยังเนินที่สอง ขณะที่ไต่เนินขึ้นความเร็วจะลดลง
เหตุผลที่เนินที่สองมีขนาดเตี้ยกว่าเนินแรก ก็เพราะว่า รถไฟต้องสูญเสียพลังงานไปกับแรงเสียดทาน และแรงต้านอากาศ เนินถัดไปจึงต้องมีขนาดเตี้ยลงไปตามลำดับ
ความเร็ว
10การเลื่อนรถไฟเหาะขึ้นไปบนเนินตอนแรก ต้องใช้รอกขนาดยักษ์ 2 อัน อันแรก อยู่ข้างล่างเนิน อันที่สองอยู่บนจุดสูงสุดของเนิน คล้องด้วยโซ่ มอเตอร์ขับเคลื่อนรอกและโซ่ให้เคลื่อนที่ขึ้น ข้างใต้ของรถไฟจะมีตะขอเกี่ยวเข้ากับโซ่ และถูกดึงขึ้นไปพร้อมกับโซ่อย่างช้าๆ เมื่อถึงจุดสูงสุด ตะขอจะหลุดออกจากโซ่และรถจะเลื่อนไหลลงออกจากเนินแรก
รถไฟเหาะยุคไฮเทค ใช้แรงส่งจากมอเตอร์แนวตรง ( Linear induction motors) ซึ่งจะช่วยส่งแรงให้กับรถเหาะเป็นช่วงๆตลอดแนว นักออกแบบบางคน ใช้ล้อขับด้วยมอเตอร์ช่วยส่งแรงเป็นช่วงๆก็ได้
ส่วนระบบเบรกทำเป็นก้ามปูหนีบเพื่อสร้างแรงเสียดทานขึ้นตามแนวทางวิ่ง
ซึ่งจะช่วยชลอความเร็วของรถให้ช้าและหยุดลง
1110อันดับรถไฟเหาะที่ยอดเยี่ยมที่สุดของโลกเรื่องความเรื่องความเร็ว
อันดับที่ 1 Kingda Ka @ Six Flags Great Adventure, New Jersey USA
รถไฟ เหาะขบวนนี้เปิดตัวในปี 2005 เป็นรถไฟเหาะที่สูงที่สุดและเร็วที่สุดในโลก
เบียดแซงอันดับที่ 4 ไปด้วยความสูง 456 ฟุต ด้วยความเร็ว 128 ไมล์ต่อชั่วโมง
(ราวๆ 206 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในเวลาเพียง 3.5 วินาทีเท่านั้น







อันดับที่ 2 Steel Dragon 2000 @ Nagashima Spa Land Amusement Park, Mie Prefecture Japan
รถไฟ เหาะนี้คล้ายกับ Millenium Force มาก แต่ยาวกว่า สูงกว่า และเร็วกว่านิดเดียวเท่านั้น ด้วยระยะทาง 8,133 ฟุต ทำให้มันเป็นรถไฟเหาะที่ยาวที่สุดในโลก ด้วยความสูง 318.25 ฟุต และความเร็ว 95 ไมล์ต่อชั่วโมง แต่ราคาแพงกว่าตั้ง 2 เท่า









12อันดับที่ 3 Millenium Force @ Cedar Point, Sandusky Ohio USA
เป็นรถไฟเหาะที่จะปล่อยเราทีความสูงถึง 310 ฟุตปล่อยคุณลงด้วยความชัน 80 องศาความเร็วสูงสูง
กว่า 92 ไมล์ต่อชั่วโมง เป็นรถไฟเหาะที่มีความยาวมากถึง 6,595 ฟุต









อันดับที่ 4 Top Thrill Dragster @ Cedar Point, Sandusky Ohio USA
สวน สนุกที่ได้ชื่อว่าเป็นอันดับ 1 ของโลก ได้รางวัล Best Amusement Park 11 ปีซ้อน ที่นี่มีรถไฟ
เหาะถึง 17 ขบวนหนึ่งในนั้นคือ Top Thrill Dragster เจ้านี่จะยิงคุณด้วยความเร็ว 120 ไมล์ต่อ
ชั่วโมง ขึ้นไปที่ความสูง 420 ฟุต แล้วควงกลับลงมา เหตุการณ์ทั้งหมดใช้เวลาเพียง 10 วินาทีเท่านั้น




13อันดับที่ 5 Dodonpa @ Fuji-Q Highland, Mt.Fujiyama Japan
บริเวณใกล้ๆกับภูเขาไฟฟูจิ มีสวนสนุกชื่อดัง และเครื่องเล่นหนึ่งในนั้นคือDodonpa เป็นรถไฟเหาะที่
มีความเร่งสูงที่สุดของโลก ด้วยความเร็ว 107 ไมล์ต่อชั่วโมงภายใน 2 วินาที ยังไม่พอ ยังส่งขึ้นไป
ด้วยความชัน 90 องศา และลงมาด้วยความชันอีก 90 องศา








อันดับที่ 6 Thunder Dolphin @ Laqua, Tokyo Dome City Japan
นั่นคือ Thunder Dolphin เป็นรถไฟเหาะที่ปล่อยด้วยความสูง 218 ฟุต เลี้ยววงแคบ 80 องศา
ความเร็วสูงสุด 80 ไมล์ต่อชั่วโมง มีความยาวทั้งสิ้น 3,500 ฟุต
14อันดับที่ 7 Goliath @ Six Flags MagicMountain, Los Angeles USA
รถไฟเหาะ Goliath ที่จะปล่อยคุณที่ความสูง 255 ฟุต ด้วยมุมชัน 61 องศา ทำให้ตัวแทบจะลอยหลุด
จากเก้าอี้กันเลยทีเดียว ความเร็วสูงสุด 85 ไมล์ต่อชั่วโมง มีความยาวทั้งสิ้น 4500 ฟุต
อันดับที่ 8 Dragon Khan @ Port Aventura Theme Park, Spain
Dragon Khan จะพาคุณไปปล่อยที่ความสูง 161 ฟุต และหมุนอีก 8 รอบ ด้วยความเร็ว 65 ไมล์ต่อ
ชั่วโมง รถไฟเหาะลำนี้ได้รับคำชมว่า ค่อนข้างสมูท และเคยได้บันทึกสถิติเกี่ยวกับการหมุนควง
15อันดับที่ 9 Titan @ Six Flags Over Texas, Arlington USA
รถไฟเหาะลำนี้จะปล่อยจากความสูง 255 ฟุต เลี้ยวและหมุนไปมาจนเกิดแรงจีมากถึง 4.5G และยัง
ทำให้เกิด negativeG ที่ทำให้ตัวหวิวอีกด้วย ความเร็วสูงสุด 85 ไมล์ต่อชั่วโมง ระยะทางยาวกว่า
5,280 ฟุต
อันดับที่ 10 Nemesis @ Alton Tower, Staffordshire UK
รถไฟ เหาะแบบห้อยขาที่มีความเร็วถึง 50 ไมล์ต่อชั่วโมง พาคุณหมุน 4 รอบ ภายในเวลา 1 นาทีครึ่ง ให้คุณได้สัมผัสประสบการณ์แรงถึง 4G มีความยาวทั้งสิ้น 2,349 ฟุต
มวล
16ขณะอยู่บนรถไฟเหาะเรามีความรู้สึกสนุกสนาน แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้ท่านทุกข์ได้ด้วย จนถึงกับวิงเวียนอาเจียนได้ เป็นเพราะแรงที่กระทำบนตัวของผู้เล่นปกตินั้น ถ้าเรานั่งนิ่งๆ และไม่มีการเคลื่อนที่ จะมีแต่น้ำหนักเท่านั้นที่กระทำกับตัวเรา เราชินกับน้ำหนักของตัวเองมาตั้งแต่เกิด ดังนั้นจึงไม่มีความรู้สึกอะไร หรือถ้าเราเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ จะไม่มีแรงกระทำกับตัวเรา ตามกฎข้อที่หนึ่งของนิวตัน ที่กล่าวไว้ว่า
วัตถุที่หยุดนิ่งหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ จะไม่มีแรงกระทำกับวัตถุนั้น แต่ถ้าวัตถุมีการเปลี่ยนความเร็ว หมายถึงว่ามีความเร่งจะเกิดแรงกระทำขึ้นกับวัตถุนั้นทันที
17และในขณะที่นั่งรถไฟเหาะซึ่งมีความเร่งเกิดขึ้น เราอาจจะมีน้ำหนักตัว
มากขึ้นถึง 300 กิโลกรัม ทั้ง ๆ ที่เราแสนจะผอม รถไฟเหาะมันจะมีราง
ขึ้น -ลง น้ำหนักตัวจะขึ้นถึง300 กิโลกรัมเวลาที่คุรนั่งอยู่ที่จุดต่ำสุดของราง
รถไฟเหาะ เพราะที่จุดต่ำสุดของรถไฟเหาะน้ำหนักทั้งหมดของเราจะทิ้งลง
มาทำให้เหมือนว่าเราจะร่วงลงมาแต่มีรถไฟเหาะรองรับน้ำหนักอยู่ทำให้
น้ำหนักทั้งหมดของเราทิ้งมาที่รถไฟตอนอยู่ที่จุดล่างสุด











พลังงานศักย์โน้มถ่วง - พลังงานจลย์
18พลังงานการเคลื่อนที่ของรถไฟเหาะได้มาจากการพลังงานศักย์โน้มถ่วง ที่เนินที่สูงที่สุดซึ่งเป็นเนินแรก พลังงานศํกย์โน้มถ่วงจะมีค่ามากสุด แต่เมื่อรถไฟเหาะเลื่อนลงจากเนินแรก พลังงานศํกย์จะเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์หรือพลังงานการเคลื่อนที่ โดยมีความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พลังงานจลน์จะมีค่าสูงสุด เมื่อพลังงานศักย์เหลือน้อยที่สุด พลังงานจลน์หรือความเร็วจะทำให้ รถไฟพุ่งต่อไป ยังเนินที่สอง ขณะที่ไต่เนินขึ้นความเร็วจะลดลงและเลื่อนลงจากเนินที่สองลงมาที่ที่เป็นตำแหน่งเริ่มต้นก่อนจะเข้าสู่วงลูบ
เหมือนกับการที่ท่านขี่จักรยานขึ้นเนินเขา พอถึงจุดสูงสุด และปล่อยให้ไหลลงมาจากเนิน ความเร็วของรถจักรยานจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งสูงมากเท่าไร ความเร็วของรถทางด้านล่างจะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก - โมเมนตัม
19รถไฟเหาะไม่ได้มีมอเตอร์อยู่บนตัวรถไฟ การเคลื่อนที่ของมันจึงต้องอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก (mg) และโมเมนตัม (P) ที่เกิดจากมวลของรถไฟ เพื่อจะสร้างโมเมนตัมให้มีค่ามากๆ รถไฟเหาะจะต้องถูกยกขึ้นไปบนเนินแรกก่อน
เมื่อรถไฟเหาะเร่งความเร็วขึ้น ท่านจะรู้สึกว่ามีแรงจากพนักพิงดันข้างหลังของท่าน แต่ถ้ารถไฟเหาะลดความเร็วลง หรือเบรกอย่างกระทันหัน ตัวท่านจะพุ่งไปข้างหน้า แต่เนื่องจากท่านยึดกับที่นั่งไว้ ทำให้ท่านไม่หลุดออกจากที่
20ความรู้สึกในความเร่งนี้เป็นความสนุกสนาน โดยทั่วไปเราเปรียบเทียบความเร่งกับค่าความเร่งโน้มถ่วงของโลก (ค่า g) ขนาดของความเร่ง 1g มีค่าเท่ากับ ความเร่งโน้มถ่วงวัดบนผิวโลก (9.8 เมตรต่อวินาทีกำลังสอง)
ในขณะที่รถไฟเหาะกำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง ผลของความเร่งจะเกิดเป็นแรงที่กระทำบนร่างกายของท่าน เนื่องจากร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยโครงกระดูกหลายชิ้น เชื่อมต่อกันขึ้นมา และมีของเหลวเ21ป็นส่วนประกอบหลักของร่างกาย เมื่อเกิดความเร่งกระทำ ส่วนต่างๆ ย่อมเกิดความเร่งหรือแรงกระทำในทิศทางหรือขนาดที่ไม่เท่ากัน
21เช่น เมื่อรถเร่งขึ้น พนักพิงมีแรงกระทำด้านหลัง กล้ามเนื้อส่วนที่อยู่ด้านหลังก็จะส่งแรงไปด้นอวัยวะภายใน หรือตอนที่รถไฟเหาะพุ่งลงอย่างรวดเร็ว ท่านจะรู้สึกถึงสภาวะไร้น้ำหนัก กระเพาะของท่านจะรู้สึกว่าเบาขึ้น ซึ่งในสภาวะปกติต้องรับน้ำหนักของอาหารโปรดและน้ำหนักของกระเพาะเอง เมื่อมันเบาขึ้นอย่างทันที อาหารที่อยู่ในกระเพาะอาจจะเลื่อนตัวออกมาทางปากของท่านจนหมด ที่เรียกภาษาชาวบ้านว่า อวก ก็เป็นได้









แรงสู่ศูนย์กลาง
22ขณะที่รถไฟเหาะตีลังกาวิ่งเข้าไปในวงลูบ ท่านจะอยู่ในสภาพกลับหัว น้ำหนักของตัวท่านจะดึงท่านลงจากที่นั่ง แต่ที่ไม่ร่วงลงมา เพราะมีอีกแรงหนึ่งที่กระทำอยู่ในแนวรัศมี ดันตัวของท่านขึ้นไปข้างบน ติดกับที่นั่ง แรงนี้เกิดจากความเร่ง และมีทิศทางตรงกันข้ามกับความเร่งโน้มถ่วงของโลก ถ้าความเร่งนี้เท่ากับหรือมากกว่าความเร่งโน้มถ่วงของโลก น้ำหนักของท่านจะหายไป อยู่ในสภาวะไร้น้ำหนักชั่ววูบ เมื่อออกจากวงลูบน้ำหนักก็จะปรากฏขึ้นมาอีกครั้ง แรงชนิดนี้มีทิศทางในแนวรัศมี เรียกว่าแรงสู่ศูนย์กลาง เป็นแรงเดียวที่กระทำกับท่านเมื่อท่านนั่งอยู่บนรถไฟเหาะ เมื่อรถไฟเหาะหมุนตีลังกาในวงลูบ
23ให้ท่านทดลองจินตนาการดูว่า เมื่อท่านอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนัก และกำลังกลับหัวตีลังกาอยู่ จะมีความรู้สึกเหมือนกับนกหรือไม่อย่างไร ในวงลูบขนาดของแรงที่กระทำขึ้นอยู่กับตัวแปร 2 ตัว คือ ความเร็วของรถไฟ และมุมของการหมุน
ปัจจุบันวิศวกรได้ออกแบบให้วงลูบเป็นรูปหยดน้ำตา เมื่อผู้เล่นพุ่งขึ้นไปบนสุด ด้วยโครงสร้างลักษณะนี้มันจะเพิ่มความเร็วของรถขึ้น และมีแรงดันตัวท่านให้ติดกับที่นั่งได้มากขึ้น พอออกจากจุดยอดของหยดน้ำตา รถไฟเหาะจะมีความเร่งลดลง ทำให้ผู้เล่นไม่อึดอัด เปลี่ยนเป็นความสนุกสนาน และอยากกลับมาเล่นรถไฟเหาะนี้อีกครั้งหนึ่ง







คณะผู้จัดทำ24
1.นางสาว กิ่งแก้ว โกมล ชั้น ม.4/2 เลขที่29
2.นางสาว ธนาภรณ์ ตั้งสกุล ชั้น ม.4/2 เลขที่31